หิ้วตะกร้าตามหาผักบ้านบ้าน : คู่มือกินเพื่อวิถีสีเขียว เล่มที่ 1

Original price was: 290 ฿.Current price is: 50 ฿.

แผงผักพื้นบ้านที่ซุกตัวอยู่ตามมุมเล็กมุมน้อยของตลาดสดในเมืองใหญ่ ใช่จะสะท้อนถึงเรื่องอยู่เรื่องกินเท่านั้น หกยังสื่อถึงวิถีการพึ่งพาตัวเอง การเคารพวงจรแห่งธรรมชาติ การคงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคนผ่านการพูดคุย ต่อรอง (ราคา) ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีเพียงคำพูดซ้ำซากไม่กี่ประโยค “สวัสดีค่ะ/ครับ” “ขอบคุณค่ะ/ครับ” “มีบัตรสมาชิกไหม” “รับซาลาเปากับชาเขียวเพิ่มไหม”…

เย็นนี้คุณจะกินอะไรดี ลองแวะไปหาเมนูจากตลาดเล็กๆ ใกล้บ้านดูสิ หากยังคิดไม่ออก ก็ลองถามป้าคนขาย ว่าผักกำนี้ทำอะไรกินได้บ้าง อย่าปล่อยให้ “ผักพื้นบ้าน” และ “ตลาดสด” กลายเป็นเรื่อง “กาลครั้งหนึ่ง” ที่อยู่ในความทรงจำของ “คนรุ่นหนึ่ง” เท่านั้น

‘ร้านผักป้าวิภาแม้จะมีผักให้เลือกไม่มากชนิด แต่ในกระจาดที่มีทั้งโสน ผักแพว ขนุน ดอกขจร ดอกแค ทูน หยวกกล้วย ก็ถูกจัดวางอย่างประณีต หยดน้ำเกาะพราว บอกถึงความสดใหม่ของผัก และความใส่ใจของผู้ขายได้เป็นอย่างดี’

ตลาดอมรพันธ์

‘ผักร้านป้าเป้าเด็ดเอามาจากสวนป้าเอง มีทั้งผักพื้นบ้าน ผักจีน ป้าใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพ บางชนิดมีแค่อย่างละนิดละหน่อย และไม่ได้มีทุกวัน ขึ้นอยู่กับปริมาณและฤดูกาลของมัน’

ตลาดสวนผัก ๓๒

‘ผักพื้นบ้านในตลาดนี้มีให้เห็นหนาตา ราคาไม่แพง หยิบง่าย ขายคล่อง อย่างแผงผักของพี่ขวัญฤทัย ที่ตั้งอยู่กลางตลาด มีผักไทยแบบเน้นๆ ที่รับมาจากชาวสวนฉะเชิงเทรา’

ตลาดเกรียงไกร

‘ลูกค้ามาหยิบจับเท่าไหร่ว่า ก็ไม่ช้ำง่ายเหมือนผักจีน ที่ทั้งบอบบาง ต้องประคบประหงม พรมน้ำกันทุกชั่วโมง ตั้งไว้นานหน่อยก็เฉา ช้ำ คอพับ รับแขกไม่ค่อยไหว” พี่มุทิตา เจ้าของแผงผักบอกมายังงี้’

ตลาดรุ่งอรุณและตลาดพระโขนง

‘ตลาดขนาดกะทัดรัด ใจกลางย่านธุรกิจ ที่ยังมีภาพสาวน้อยปั่นจักรยาน นำผักสวนครัวจากรั้วบ้านตัวเองมาวางขาย และยังมีแผงผักใหญ่ในตลาดอีกหลายเจ้า อยากได้ผักสดๆ มีให้เลือกเยอะๆ ต้องมากันก่อน ๑๐ โมงเช้า’

ตลาดซอยประชุม(วัดแขก)