นกเถื่อน (Stray Birds) ฉบับปรับปรุงใหม่
เขียน: รพินทรนาถ ฐากูร
แปล: ปรีชา ช่อปทุมมา
ปีที่พิมพ์: 1/2566
จำนวนหน้า: 208
ISBN: 978-616-481-041-9
ราคาปก: 280 บาท
…หากพลังของมนุษย์คือพลังแห่งการเติบโต มนุษย์ก็ควรค้นหาพลังแห่งตน เพื่อซึมซับแก่นแท้ของชีวิตให้เติบโตอย่างสมบูรณ์พร้อมทั้งกายและจิตวิญญาณแต่ในท่ามกลางสังคมปัจจุบัน ยุคสมัยแห่งความเร่งเร็ว เราสามารถใช้ชีวิตอย่างสะดวกสบายจากความช่วยเหลือทาง “วัตถุ”
ในแต่ละวันเราทำภารกิจการงานได้อย่างรวดเร็วทันใจ หลงเพลินกับการอิงอาศัยเทคโนโลยี จนมิทันได้สังเกต ไตร่ตรอง และรับรู้ถึงพลังที่มีอยู่ภายในตน
บางที นกเถื่อน อาจกระตุ้นผู้อ่านให้ตระหนักถึง “พลังแห่งการเติบโต” ซึ่งซุกซ่อนอยู่ภายใน ก่อนที่มันจะตกหล่นสูญหายไประหว่างวิถีที่เร่งรีบในแต่ละวัน
ด้วยภาษาที่งดงามและลึกซึ้งจาก “คัมภีร์แห่งปัญญาญาณ” เล่มนี้ เราสัมผัสได้ถึงความละเอียดอ่อนของชีวิต และความเกี่ยวโยงสัมพันธ์ระหว่างโลกกับตัวเรา ซึ่งนั่นจะนำมาซึ่งดวงใจที่อ่อนโยนและการุณย์ต่อสรรพชีวิต
ตัวอย่างเนื้อหา
เกี่ยวกับผู้เขียน
รพินทรนาถ ฐากูร (ค.ศ. 1861-1941)
เป็นกวีและนักประพันธ์ที่มีอัจฉริยภาพรอบด้าน รพินทรนาถสามารถในการประพันธ์ทุกชนิดทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง แต่งานวรรณกรรมที่เด่นและถนัดมากที่สุดดูเหมือนจะเป็นบทกวีระบายความรู้สึกสั้น ๆ (Lylics) เหมาะที่จะขับร้องเข้ากับเสียงพิณ เช่นที่ปรากฏในหนังสือ คีตาญชลี เป็นต้น แต่การประพันธ์ด้านอื่น รพินทรนาถก็มีสมรรถภาพไม่น้อยกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็น นิทาน เรื่องสั้น นวนิยาย บทความ บทวิจารณ์ รพินทรนาถเป็นนักหนังสือพิมพ์ นักเขียนเรื่องปรัชญา นักการศึกษา นักปฏิรูปสังคม นักเขียนบทความการเมือง นักแต่งบทละครและนักประพันธ์เพลง นอกจากนี้ยังเป็นนักแสดงละคร และจิตรกรอีกด้วย
ตลอดชีวิตของรพินทรนาถได้ประพันธ์หนังสือทั้งร้อยแก้ว และร้อยกรอง เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 260 ชิ้น ทั้งเรื่องสั้นและเรื่องยาว ส่วนใหญ่เป็นภาษาเบงกาลี และบางส่วนที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ งานวรรณกรรมทั้งสองภาษาได้ดำเนินเรื่อยมาจนวาระสุดท้ายในชีวิตของรพินทรนาถ สิบวันก่อนที่จะถึงแก่มรณกรรม รพินทรนาถได้แต่งบทกวีไว้บทหนึ่งมีชื่อว่า “The Last Poem” มีการคะเนกันว่างานวรรณกรรมของรพินทรนาถมีจำนวนประมาณถึง 300,000 บรรทัด
หนังสือที่รพินทรนาถแต่งเป็นภาษาอังกฤษมีไม่น้อยกว่า 61 ชิ้น ในจำนวนนี้ 40 ชิ้นแปลมาจากต้นฉบับภาษาเบงกาลีโดยตัวของรพินทรนาถเองและของผู้อื่นบ้าง อีกประมาณ 21 ชิ้นเป็นภาษาอังกฤษซึ่งรพินทรนาถประพันธ์ขึ้นต่างหาก เฉพาะ คีตาญชลี เองได้รับการแปลเป็นภาษาที่สำคัญ ๆ ของโลกแทบทุกภาษา และได้รับการพิมพ์เป็นจำนวนเรือนล้านเล่ม ในภาษาไทยนั้นอาจารย์กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย ได้ถ่ายทอดเป็นภาษาไทยไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1969 และได้รับความนิยมจนพิมพ์ซ้ำหลายครั้งจนถึงปัจจุบัน
เกี่ยวกับผู้แปล
ปรีชา ช่อปทุมมา
ชื่อเสียงของปรีชา ช่อปทุมมา นักเขียน นักแปล และนักปราชญ์ผู้สันโดษมิได้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างมากนัก อันเป็นปกติธรรมดาของผู้ที่ทำงานเพื่อสติปัญญาในวิชาชีพนี้ และงานของท่านก็พิมพ์แพร่หลายน้อยมาก แต่งานทุกเล่มนั้นทรงคุณค่าเสมอ ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปนานเท่าใด
ปรีชา ช่อปทุมมา จบชั้น ม.6 (ม.4 ในปัจจุบัน) จากโรงเรียนมัธยมวัดสุทธิวราราม เมื่อ พ.ศ. 2493 จากนั้นก็ศึกษาหาความรู้ด้วยตัวเอง โดยอาศัยอ่านหนังสือที่ห้องสมุดอเมริกันเป็นประจำ (สมัยนั้นตั้งอยู่ที่ถนนราชดำ.เนิน ตรงข้ามหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ) ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับบรรจุเข้าเป็นครู ปี พ.ศ. 2507 ได้รับทุนการศึกษาจากอาศรมวัฒนธรรมไทย-ภารต เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิศวภารตี (ศานตินิเกตัน) ด้านอักษรศาสตร์ เลือกศาสนาเปรียบเทียบเป็นวิชาเอก การเมืองเป็นวิชารอง ได้รับปริญญาอักษรบัณฑิต (เกียรตินิยม) เมื่อปี พ.ศ. 2510
ปี พ.ศ. 2511 ได้รับทุนการศึกษาอีกครั้ง กลับไปศึกษาหลักสูตรพิเศษของศานตินิเกตัน วิชาอินเดียยุคปัจจุบัน และรพินทรนาถวรรณกรรม สำ.เร็จการอบรมภาคฤดูร้อนปี พ.ศ. 2512 จาก Gandhian Institute of Studies สถาบันสังคมศาสตร์ จากนั้นมาก็มุ่งมั่นทำงานเขียนและงานแปลควบคู่กับงานสอนเรื่อยมา ผลงานเขียนและแปลได้รับการตีพิมพ์แล้วเกือบ 20 เล่ม
ปรีชา ช่อปทุมมา เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มี.ค. พ.ศ. 2559 รวมอายุได้ 83 ปี
ข้อมูลเพิ่มเติม
Color | Green, Red |
---|
There are no reviews yet.